นโยบายการลงทุนและการบริหารกลุ่มสินทรัพย์
ในอดีตการจัดการลงทุนมีลักษณะคล้ายกับผู้ตกแต่งภายในกล่าวคือเป็นการพยายามเลือกหลักทรัพย์รายตัวให้เหมาะสมกับผู้ลงทุนเท่านั้น แต่ปัจจุบันการบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆมากมายที่มีเหตุและผลโดยดำเนินงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การลงทุน
พัฒนาการของการบริหารกลุ่มสินทรัพย์ที่สำคัญเริ่มต้นขึ้นจากทฤษฏีกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนสมัยใหม่ของ Harry Markowitz ที่มีใจความสำคัญว่า “การวิเคราะห์ตัวเลือกกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนอย่างมีเหตุผล ไม่ใช่เพียงพิจารณาผลตอบแทนเพียงอย่างเดี่ยวแต่จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาความเสี่ยงจากการลงทุนด้วย” ซึ่งเป็นรากฐานแนวคิดการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
- การลงทุนอย่างมืออาชีพเริ่มต้นด้วยการรวบรวมหลักการซึ่งได้รับการยอมรับในความสำคัญของช่องทางกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์การลงทุน
- การนำแนวคิดเชิงปริมาณมาเป็นรากฐานของทฤษฏีกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนสมัยใหม่ช่วยให้สามารถพัฒนาแนวความคิดการลงทุนได้อย่างมากมาย
นโยบายการลงทุน
นโยบายการลงทุน(Investment Policy Statement) เป็นเอกสารที่ระบุถึง ผลตอบแทน ความเสี่ยงและข้อจำกัดต่างๆในการลงทุนโดยทั่วไปนโยบายการลงทุนมีองค์ประกอบดังนี้
- รายละเอียดของลูกค้า
- วัตถุประสงค์ แนวปฎิบัติ ที่เกี่ยวข้องเป้าหมายและข้อจำกัดการลงทุน
- การจำแนกหน้าที่และความรับผิดชอบ
- ตารางเวลาในการทบทวนความสามารถในการลงทุนและนโยบาย
- ข้อพิจารณาการจัดสรรเงินลงทุนและกลยุทธ์การลงทุน
- แนวปฏิบัติการจัดสมดุลและการป้อนข้อมูลย้อนกลับ
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดในการลงทุนคือผลตอบแทนและความเสี่ยงซึ่งปัญหาที่ต้องพิจารณาคือปัจจัยใดควรเป็นปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรก
เป้าหมายด้านความเสี่ยง
เป้าหมายด้านความเสี่ยงมักถูกใช้ในการกำหนดเป้าหมายด้านผลตอบแทนจะทำให้การจัดสรรสินทรัพย์เงินทุนที่แตกต่างกันโดยจะะพิจารณาประเด็นต่างๆดังนี้
- รูปแบบการวัดความเสี่ยง สามารถวัดได้ในหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ค่าความแปรปรวน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มูลค่าความเสี่ยง (Var )หรือจำนวนเงินที่อาจสูญเสียในการลงทุน
- ความเต็มใจรับความเสี่ยงของนักลงทุน (Willingness to take risk) คือความเต็มใจของนักลงทุนในหลักทรัพย์แต่ละประเภทที่มีความเสี่ยงแตกต่างกัน
- ความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน(ability to take risk) คือความสามารถรับความเสี่ยงแม้ว่านักลงทุนมีความเต็มใจรับความเสี่ยงโดยอาจเกิดจากความจำเป็นในการใช้จ่าย
- เป้าหมายความมั่งคั่งระยะยาวหรือหนี้สิน
- ความเข็มแข็งทางการเงินของนักลงทุน
- ความจำเป็นในการใช้จ่าย
- เป้าหมายความมั่งคั่งระยะยาวหรือหนี้สิน
- ความเข็มแข็งทางการเงินของนักลงทุน
4. ระดับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนเต็มใจและสามารถยอมรับได้ (risk tolerance) คือความสามารถที่จะยอมรับความเสี่ยงที่ประกอบไปด้วย ability to take risk และ Willingness to take risk ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งใดจะตำ่กว่า คือถ้า ability to take risk ตํ่ากว่าWillingness to take risk จะทำให้ risk toleranceเท่ากับ ability to take risk แต่หาก ability to take risk สูงกว่าWillingness to take risk จะทำให้ risk tolerance เท่ากับ Willingness to take risk
เป้าหมายด้านผลตอบแทน
การวัดผลตอบแทน
- ผลตอบแทนโดยรวม(total return) คือจำนวนผลตอบแทนทั้งหมดที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของราคา(appreciation) และรายได้จากผลตอบแทนจากเงินลงทุน(Investment income) โดยอาจวัดในเชิงสมบูรณ์ หรืออาจวัดโดยเทียบเคียง(benchmark return)
- ผลตอบแทนที่แท้จริง(real return) คือผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน (nominal return) ปรับด้วยค่าเงินเฟ้อ
- ผลตอบแทนเริ่มต้นที่นักลงทุนต้องการ (stated return desire) คือผลตอนเริ่มต้นที่นักลงทุนต้องการ
- ผลตอบแทนที่นักลงทุนต้องการ(required return) ถูกคำนวณจากกระเเสเงินสดที่ได้จากการลงทุน ส่วนอัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนต้องการ (required return) คำนวณมาจากผลตอบแทนที่นักลงทุนต้องการนั้นเอง
ข้อจำกัดการลงทุน
- ข้อจำกัดด้านสภาพคล่อง คือความการเงินสดทั้งที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ได้คาดการณ์ไว้ ความต้องการเงินสดในส่วนที่เกินกว่ากระเเสเงินสดรับที่คาดการณ์ไว้อาจสะท้อนถึงความต้องการเงินรายได้ในปัจจุบัน(current income) หรือความต้องการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ(non-recurring need)
- ข้อจำกัดด้านระยะเวลา (time horizon) คือช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการลงทุน เป้าหมายการลงทุนและข้อจำกัดด้านระยะเวลาที่เกี่ยวข้องโดยอาจมีผลมาจากข้อจำกัดอื่นๆ
- ข้อจำกัดด้านภาษี
- ข้อจำกัดด้านกฏหมายและปัจจัยด้านกฏระเบียบ
- ข้อจำกัดเฉพาะ
กระบวนการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน
การบริหารกลุ่มสินทรัพย์คือกระบวนการสร้างและดำรงค์ไว้ซึ่งกลุ่มสินทรัพย์ที่เหมาะสมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การลงทุนที่กำหนดไว้ตามนโยบายการลงทุนกระบวนการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ลงทุนบรรลุวัตถุประสงค์ซึ่งสามารถแยกออกเป็นขั้นตอนย่อยได้ดังนี้
- ขั้นตอนการวางแผน
- ขั้นตอนในการบริหารสินทรัพย์ลงทุน
- ขั้นตอยการติดตามและควบคุม
กระบวนการวางแผนการลงทุน
กระบวนการวางแผนการลงทุนคือการสร้างกลยุทธ์การลงทุนที่รูปธรรมหรือวิธีการเลือกหลักทรัพย์เพื่อการตัดสินใจลงทุนการวางแผนการลงทุนจะช่วยให้ผู้ลงทุนเหตุภาพหลักการลงทุนที่ชัดเจน
ขั้นตอนการวางแผนการลงทุนประกอบด้วยสองขั้นตอนย่อยดังนี้
- การแยกแยะและกำหนดวัตถุประสงค์ข้อจำกัดต่างๆและความชอบส่วนบุคคล วัตถุประสงค์การลงทุนในที่นี้หมายถึงผลการลงทุนที่ผู้ลงทุนปรารถนาซึ่งเกี่ยวข้องกับผลตอบแทนและความเสี่ยง ที่ได้มาจากการวิเคราะห์ประวัติบุคคลและภูมิหลังของผู้ลงทุน นอกเหนือจากนั้นยังต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดการลงทุนที่อาจมีผลกระทบต่อการลงทุน
- การสร้างนโยบายการลงทุน นโยบายการลงทุนจะเป็นสิ่งที่ใช้อ้างอิงในการตัดสินใจทั้งหมดในการลงทุนซึ่งจะมีรายละเอียดของวัตถุประสงค์และข้อจำกัดต่างๆรวมถึงประเด็นสำคัญอื่นในการลงทุนอาทิเช่นรูปแบบการสื่อสารการลงทุน ค่าธรรมเนียมการจัดการ กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์การลงทุน
- วิธีการลงทุนเชิงรับหรือ Passive Investment approach คือกลยุทธ์ที่จะไม่ปรับเปลี่ยนการลงทุนใดๆ อาทิเช่นการลงทุนตามค่าดัชนีและการซื้อแล้วถือจนครบคาบเวลาการลงทุน
- วิธีการลงทุนเชิงรุกหรือ Active Investment approach คือกลยุทธ์การลงทุนที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง โดยสร้างตัวชี้วัด (benchmark) แล้วพยายามสร้างผลตอบแทนปรับด้วนค่าความเสี่ยง(risk-adjusted return)มากกกว่าตัวชี้วัด
- วิธีการลงทุนแบบกึ่งรุก (Semi Active Investment approach ) เป็นการควบคุมความเสี่ยงเชิงรุก สามารถใช้เพื่อควบคุมการเปลี่่ยนแปลงในข้อมูลที่คาดหวังได้
การคาดการณ์ตลาดทุน
การคาดการณ์ตลาดทุนคือการพยายามคาดการณ์ถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงของสินทรัพย์ต่างๆซึ่งเป็นพื้นฐานในการเลือกกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่คาดหวังไว้สูงที่สุด ณระดับความเสี่งหนึ่งหรือ ความเสี่ยงตํ่าที่สุด ณระดับผลตอบแทนที่คาดหวัง
การสร้างกลยุทธการจัดสรรเงินทุน
การสร้างกลยุทธการจัดสรรเงินทุนเริ่มต้นจากการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์โดยรวมผลกระทบต่างๆอาทิภาษีข้อจำกัดด้านสภาพคล่องหรือข้อจำกัดด้านเวลา
ขั้นตอนในการบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน
ผลจากการบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนจะทำให้เกิดกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าการจัดการกลุ่มสินทรัพย์ที่เหมาะสม (portfolio optimization) ที่ช่วยให้การจัดสรรเงินลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานส่งผลสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการลงทุนซึ่งประกอบด้วยสองขั้นตอนดังต่อไปนี้
- การประเมินผลการดำเนินงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการลงทุนและประเมินทักษะในการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ของผู้จัดการลงทุนโดยเเบ่งเป็นวิธีการวัดผลการดำเนินงาน (Performance measurement)คือการคำนวณผลตอบแทนจากกลุ่มสินทรัพย์และตัวเลขผลการดำเนินงาน(Performance attribution) คือการวิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใดกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนจึงมีผลการดำเนินงานเช่นนั้น โดยปกติผลการดำเนินงานเป็นผลมาจากการจัดสรรการลงทุน จังหวะเวลาของตลาดและการเลือกหลักทรัพย์ ซึ่งอ้างอิงจาก benchmark หรือแบบจำลองพหุปัจจัย
- การติดตามผลการดำเนินงานและการสร้างสมดุลให้แก่กลุ่มหลักทรัพย์ คือการป้อนข้อมูลย้อนกลับในการจัดสรรโอกาสการลงทุนที่มีอยู่เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และข้อจำกัดการลงทุน โดยมีเหตุผลมาจากการเปลี่ยนแปลงเหตุผลหรือข้อจำกัดต่างๆหรือการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจและการคาดการตลาดทุน หรือราคาของหลักทรัพย์
พลวัตรของกระบวนการบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน
กระบวนการบริหารสินทรัพย์มีการเปลียนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งโดยส่วนงานบริหารกลุ่มสินทรัพย์คือขั้นตอนในการปฎิบัติโดยไม่สามารถข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งได้ โดยในหลายทศวรรษที่ผ่านมาการบริหารกลุ่มสินทรัพย์ได้กลายเป็นแนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ท่ามกลางความก้าวหน้าในทฤษฏีพื้นฐานเทคโนโลยีและโครงสร้างการตลาดได้นำไปสู่การปรับปรุงในด้านผลิตภัฒฑ์ทางการเงินต่างๆ และการปฏิบัติอย่างมืออาชีพอย่างต่อเนื่องทั้งหมดนี้คือพัฒนาการที่สำคัญของแนวคิดการบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน
อ้างอิง
การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ CISA 2