วิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2000
ช่วงนี้ตลาดหุ้นลงเยอะผมขอเอาบทความที่เคยเขียนมารีวิวนะครับ
วิกฤตเศรษฐกิจ มักจะเกิดขึ้นจากสิ่งผิดปกติ ที่ทุกคนคิดว่ามันเป็นปกติ มันเลยมักนำมาซึ่งผลกระทบอย่างรุนแรง
เรามาย้อนดูอดีตกันว่าวิกฤตก่อนหน้านี้เกิดขึ้นกันอย่างใร
วิกฤตแรกหลังผ่านพ้นปี 2000 ได้ไม่กี่เดือนก็คือวิกฤตฟองสบู่ดอทคอม คือภาวะการเก็งกำไรอันเกินควรของตลาดหลักทรัพย์ภาคเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1997 ถึงปี 2000 (โดยที่จุดสูงสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2000 เมื่อตลาด Nasdaq ขึ้นไปถึง 5132.52) ในช่วงเวลานั้นตลาดหลักทรัพย์ทางตะวันตกเป็นตลาดที่มูลค่าของหุ้นในกลุ่ม อินเทอร์เน็ตทีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับหุ้นในภาคตลาดอื่นๆ โดยทั่วไป
ซึ่งการเติบโตของราคาหุ้นเทคโนโลยีในช่วงแรกก็ดูเหมือนไม่มีความผิดปกติแต่อย่างใด เนื่องจากกำไรของธุรกิจประเภทนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขยายตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วก็ดึงดูดผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามามากมาย ทำให้ความสามารถทำกำไรของบริษัทในกลุ่มนี้ลดตํ่าลง ในขณะที่ราคาหุ้นยังคงเพิ่มขึ้นเนื่องจากทุกคนในตลาดเกือบทั้งหมดคาดหวังว่าราคาหุ้นกลุ่มนี้ ยังคงเติบโตได้ตลอดไป จึงทำให้ ในมีนาคมปี 2000 ดัชนี NASDAQ Composite ได้สูงสุดที่ 5,132.52 แต่เพียงอีกสองปีต่อจากนั้น NASDAQ Composite เริ่มลดลง จนทำจุดตำ่สุด ตำ่กว่า จุดสูงสุดถึง 78 % เรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่าไม่มีทางที่อุตสาหกรรมใด บนโลกจะสามารถเติบโตได้อย่างสูงมากๆ ในระยะยาว แต่ตลาดมักจะดูจากอดีต และคิดว่าการเติบโตนั้นเป็นเรื่องปกติ จนนำมาซึ่งวิกฤต
หลังจากวิกฤตดอทคอมเพียง 5 ปี ก็เกิดวิกฤตใหม่ที่ชื่อว่าวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์
วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลพ่วงมาจากการใช้มาตรการทางการเงินเพื่อเเก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจครั้งก่อนหน้าในช่วงตั้งแต่ปี 2001 เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอยู่ในภาวะถดถอย
รัฐบาลจึงมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อให้มีการใช้จ่ายและการลงทุนเพิ่มขึ้น ผลทำให้ประชาชนบางกลุ่มกู้เงินไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไร เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยลดลงต่ำมาก จึงส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น ยิ่งกระตุ้นให้ประชาชนกู้เงินมาเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไรมากยิ่งขึ้น ผลทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์สูงมากขึ้นเกินความเป็นจริง ประกอบกับการพัฒนาตราสารทางการเงิน ของ Mortgage-Backed Securities (MBS)คือ ตราสารการเงินที่ผู้ซื้อลงทุนในสินเชื่อที่อยู่อาศัย การเกิดของ MBS นั้นเริ่มจากสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้ผู้กู้ไปซื้อที่อยู่อาศัยและผู้กู้จะต้องผ่อนชำระคืนเงินกู้ทุกเดือน โดยมีที่อยู่อาศัยดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้นี้ สินเชื่อที่อยู่อาศัยเหล่านี้จะถูกรวมกันเป็นกองและขายให้กับสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง (สถาบันการเงินที่รับซื้อสินเชื่อทำหน้าที่เป็นตลาดรอง) จากนั้นจึงนำกองสินเชื่อมาหนุนหลังการออกตราสารทางการเงินให้นักลงทุน ผลตอบแทนของนักลงทุนนี้มาจากกระแสเงินของกองสินเชื่อที่นำมาหนุนหลังตราสาร ซึ่งก็คือดอกเบี้ยและเงินต้นที่ผู้กู้บ้านผ่อนชำระนั่นเอง ทำให้สินเชื่อเฉพาะที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯนั้นมีขนาดประมาณ 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และเเน่นอน ทุกคนคิดว่าตราสารหนี้ประเภท MBS ไม่มีความเสี่ยง และมองว่าตลาดนี้จะโตต่อไป จนกระทั้งเกิดแรงเทขาย ในอสังหาริมทรัพย์ ราคาบ้านลดตำ่ลง คนที่กู้ไม่มีปัญญาจ่าย ส่งผลให้ มีการประกาศล้มละลายของวาณิชธนกิจชื่อดังอย่าง เลห์แมน บราเตอร์ส นอกจากนี้ เมอร์ริล ลินช์ยังถูกบังคับให้รวมกิจการกับธนาคารแบงก์ออฟอเมริกาด้วยมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ และความกังวลใจเกี่ยวกับสภาพคล่องของเอไอจีทำให้มูลค่าในตลาดหุ้นตกลงมากกว่าร้อยละ 60 ในวันนั้น จำนวนคนตกงานในสาขาการเงินสูงถึง 65,400 คนในสหรัฐ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 7.2 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 16 ปี เราได้เรียนรู้อะไรจากมัน
คำถามคือเราได้อะไรจากมัน สิ่งที่ผมได้จากมันคือทุกสิ่งล้วนมีความเสี่ยง คุณเข้าใจความเสี่ยงในสิ่งที่คุณลงทุนมากแค่ไหน
สุดท้ายวิกฤตหนี้ยุโรป
ตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2552 ความกลัววิกฤตหนี้สาธารณะเริ่มมีขึ้นในหมู่นักลงทุน โดยเป็นผลมาจากระดับหนี้สินภาคเอกชนและภาครัฐที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก สาเหตุของวิกฤตดังกล่าวแตกต่างกันไปตามประเทศ ในหลายประเทศ หนี้สินภาคเอกชนเกิดจากการโอนหนี้สินภาคเอกชนจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ไปเป็นหนี้สาธารณะ โดยการให้เงินช่วยเหลือระบบการธนาคารและการสนองเพื่อชะลอเศรษฐกิจหลังฟองสบู่แตกของรัฐบาล ในประเทศกรีซ ค่าจ้างภาครัฐและข้อผูกมัดบำนาญที่ไม่ยั่งยืน ยิ่งทำให้หนี้สินสูงขึ้นอีก โครงสร้างของยูโรโซนที่เป็นสหภาพการเงิน (เงินสกุลเดียว) โดยปราศจากสหภาพการคลัง (กฎภาษีและบำนาญสาธารณะต่างกัน) มีส่วนให้เกิดวิกฤตการณ์ และทำให้ผู้นำยุโรปไม่สามารถสนองต่อปัญหาได้สถานการณ์เริ่มตึงเครียดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในต้นปี 2010 ซึ่งรวมไปถึงสมาชิกยูโรโซน กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส และประเทศสหภาพยุโรปบางประเทศนอกพื้นที่ดังกล่าวด้วย ไอซ์แลนด์ ประเทศซึ่งประสบวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ที่สุดใน พ.ศ. 2008 เมื่อระบบการธนาคารระหว่างประเทศทั้งหมดล้มลง กลายเป็นว่าได้รับผลกระทบน้อยจากวิกฤตหนี้สาธารณะ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ธนาคารได้ ในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงจากเงินช่วยเหลือธนาคาร วิกฤตความเชื่อมั่นได้เกิดขึ้นด้วยการเพิ่มผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลขยายและมีการประกันความเสี่ยงสวอปการผิดนัดชำระหนี้ ระหว่างประเทศเหล่านี้กับสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจครั้งนี้ ทำให้ความเชื่อมั่นของประเทศต่างๆในยูโรปลดลง แต่ยังไม่สามารถแก้ไขได้จนถึงปัจจุบัน
จากวิกฤตที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ โลกเราได้อะใรบ้าง แล้วคุณคิดว่าภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันมีอะไรบ้างที่ ไม่ปกติ แต่ทุกคนคิดว่ามันปกติ แล้วคุณเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตครั้งต่อไปขนาดใหน เพราะทุกวิกฤตมีโอกาสสำหรับคนที่พร้อมเสมอ
จะเห็นว่าทุกครั้งที่มีวิกฤตตลาดมักจะปรับตัวลงเกือบครึ่งหรือมากกว่า ถ้าคุณพร้อมนั้นแหละโอกาสของคุณ
เราพร้อมรับวิกฤตกันแล้วหรือยัง