การลงทุนแบบ Smart Beta (Factor investing)

NUTHDANAI WANGPRATHAM
2 min readAug 31, 2020

--

ในอดีตโลกของการลงทุนถูกแบ่งออกเป็น การลงทุนแบบเชิงรับ (Passive Portfolio Management) และ การลงทุนแบบเชิงรุก (Active Portfolio Management) โดยการลงทุนแบบเชิงรับต้องการสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับตัวเทียบวัดให้มากที่สุด ส่วนการลงทุนแบบเชิงรุกต้องการสร้างผลตอบแทนให้ได้มากกว่าผลตอบแทนของตัวเทียบวัด(Benchmark)

แน่นอนว่าการลงทุนแบบเชิงรับค่าบริหารกองทุนจะถูกกว่าแต่ก็เสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าตลาด ในทางกลับกันกองทุน Active ก็เป็นไปในทางต้องกันข้าม แต่ถ้ามีกองทุนที่บริหารแบบ Active แต่ค่าธรรมเนียมถูกเหมือน Passive แหละคงเป็นทางออกที่น่าสนใจ

https://www.msci.com/factor-index

การลงทุนแบบ Smart Beta หรือ factor investing นำข้อดีของ การลงทุนแบบเชิงรับ (Passive Portfolio Management) และ การลงทุนแบบเชิงรุก (Active Portfolio Management) โดยมองไปยังตัวขับเคลื่อนที่แท้จริงของพอร์ตโฟลิโอและควบคุมปัจจัยเหล่านั้น แล้วตั้งเงื่อนไขในการลงทุนด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่กำหนดผลตอบแทน

Factor investing ได้รับการบุกเบิกโดยบริษัท Barra ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ MSCI ในปี 1970 ได้พัฒนาดัชนีและแบบจำลองการวิเคราะห์ที่หลากหลายเพื่อให้นักลงทุนสถาบันมีเครื่องมือในการประเมินปัจจัยต่าง ๆ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุน

ปัจจัยในที่นี้คือตัวแปรอะไรสักอย่างที่ขับเคลื่อนพอร์ตการลงทุน

แบบจำลอง CAPM

หนึ่งในแบบจำลองที่ใช้กันโดบทั่วไปคือ CAPM CAPM ถูกใช้โดยทั่วไปในแบบจำลองการลงทุน โดยปัจจัยที่ใช้ใน CAPM คือผลตอบแทนส่วนเกินของสินทรัพย์ที่เกินกว่าผลตอบแทนปราศจากความเสี่ยงและค่าเบต้าของสินทรัพย์(ความแปรปรวนร่วมของสินทรัพย์กับตลาด) ดังนั้นแกน x จะใส่ Betas และแกน y ใส่ผลตอบแทนของสินทรัพย์ เราจะได้เส้นตรงหนึ่งที่เรียกว่า Security Market Line หรือ SML

จากแบบจำลอง CAPM ผลตอบแทนของสินทรัพย์สามารถอธิบายได้จากปัจจัยเดียว คือผลตอบแทนของตลาดและเบต้า ในความเป็นจริงเรารู้ว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ เมื่อดูตัวเลขจริงๆแล้วพบว่าหุ้นบางประเภทมีประสิทธิภาพดีกว่าหุ้นประเภทอื่น ๆ คือหุ้นคุณค่า หุ้นคุณค่าดีกว่าหุ้นเติบโต มีความผิดปกติอื่น ๆ ในความเป็นจริงมีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่าหุ้น Beta สูงมีผลตอบแทนจากการปรับความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น Beta ต่ำซึ่งตรงข้ามกับค่าคาดหวังจาก CAPM นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าความผิดปกติและเป็นความผิดปกติที่สัมพันธ์กับ CAPM เท่านั้น

Multi-Factor และ Fama-French Mode

แบบจำลอง Fama-French พัฒนามาจาก แบบจำลอง CAPM โดยการเพิ่มปัจจัยไปอีกตัวคือ มูลค่าทางบัญชี โดยสมมุติฐานของแบบจำลองนี้คือขนาดของกิจการส่งผลต่อผลตอบแทน

นอกเหนือจากสองแบบจำลองข้างต้น จริงๆแล้วการลงทุนแบบ Factor invvesting หรือ Smart Beta ยังมีแบบจำลองอีกหลาหลายในการลงทุน

อ้างอิง

https://www.porttoffy.com/article/topic/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2-Fama-French-Model-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99

--

--

NUTHDANAI WANGPRATHAM
NUTHDANAI WANGPRATHAM

Written by NUTHDANAI WANGPRATHAM

I am a learner and have a multipotential life. You can contact me at nutdnuy@gmail.com

No responses yet